กลับไปหน้าแรกของ Fact-Link > เครื่องจักร > MARUYAMA MFG (THAILAND) CO., LTD.

เครื่องยนต์ 2 จังหวะ / เครื่องตัดหญ้า


เครืองยนต์รุ่นเล็กน้ำหนักเบา 20cc จะติดตั้งอยู่ในเครื่องตัดหญ้าที่ตามร้านศูนย์รวมอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในญี่ปุ่น เหมาะกับคนญี่ปุ่นที่มีร่างกายเล็ก สำหรับรุ่นใหญ่ 42cc, 50cc จะติดตั้งอยู่ในเครื่องตัดหญ้าสำหรับจำหน่ายต่างประเทศ ซึ่งเหมาะกับชาวต่างชาติที่มีร่างกายสูงใหญ่ เครื่องตัดหญ้าและเครื่องยนต์ 2 จังหวะของมารูยาม่าได้รับความนิยมสูงในหลายประเทศที่ใช้งานในสภาพแวดล้อมที่โหดร้าย โดยจุดขายของเราอยู่ที่สมรรถนะ คุณภาพ และความทนทานในระดับสูง

เครื่องยนต์ 2 จังหวะ คืออะไร?

เป็นเครื่องยนต์ที่มีน้ำหนักเบา แข็งแรง ใช้งานสะดวกแม้ในสภาพกลับหัวก็สามารถใช้งานได้ มารูยาม่าจะนำเครื่องยนต์มาใช้กับเครื่องตัดหญ้าและเครื่องพ่นสเปรย์สะพายหลังเป็นหลัก น้ำมันที่ผสมแล้วจะเข้าไปในห้องเครื่อง เกิดการเผาไหม้ และปล่อยออก ทำให้เกิดแรงขับเคลื่อนหมุนเพลาข้อเหวี่ยง ซึ่งในตอนนี้แกนข้อเหวี่ยงจะหมุน 1 รอบใน 2 กระบวนการ จึงเรียกว่าเป็นเครื่องยนต์ 2 จังหวะ

กระบวนการผลิตของเครื่องตัดหญ้า

► ที่โรงงานในไทยทำการผลิตเครื่องยนต์ 2 จังหวะ ขนาด 20cc, 23cc, 26cc, 36cc, 42cc, 50cc

ผู้ผลิตเครื่องยนต์ 2 จังหวะบางแห่งจะสั่งซื้อชิ้นส่วนทั้งหมดที่ใช้ในผลิตภัณฑ์จากโรงงานภายนอก แต่ที่มารูยาม่าจะมุ่งเน้นผลิตชิ้นส่วนที่สำคัญในบริษัทเองเพื่อรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ยิ่งกว่านั้นยังได้นำเกณฑ์ตัดสินคุณภาพที่เข้มงวดมาใช้ในกระบวนการประกอบ ดำเนินการผลิตผลิตภัณฑ์ทีละเครื่องในความควบคุมอย่างละเอียดรอบคอบของวิศวกรบริษัท

1. การกัดชิ้นงาน

มีการนำเครื่องแมชชีนนิ่งเซนเตอร์เข้ามาใช้ ทำให้สามารถเริ่มการผลิตแบบครบวงจรภายในบริษัทได้ ตั้งแต่จัดหาวัตถุดิบ แปรรูป จนถึงการประกอบ (FANUC ROBODRILL / a-D21LiB 2 เครื่อง)

2. ประกอบเครื่องยนต์

ทำการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยการประกอบย่อยชิ้นส่วน (ซับแอสเซมบลี) ก่อนประกอบตัวเครื่อง

ติดตั้งสายการผลิตที่ประกอบผลิตภัณฑ์โดยผ่านกระบวนการ 15 ขั้นตอน

กระบวนการที่ 1 จะประกอบไซลินเดอร์ โรเตอร์ หัวเทียนจุดระเบิด คอยล์จุดประกายไฟ คลัช สตาร์ตเตอร์พูลเลย์

จากนั้น ประกอบคาร์บูเรเตอร์ ตัวฉนวน แฟนโคเวอร์ อันเดอร์โคเวอร์ สคาร์ฟ

สุดท้าย ประกอบรีคอยล์สตาร์ตเตอร์ ท็อปโคเวอร์ และถังน้ำมัน

ห้องทดสอบจะมีการควบคุมอุณหภูมิกับความชื้น และทำการทดสอบประเมินผลการขับเคลื่อนด้วยพัลส์ (ความเร็วรอบเครื่องยนต์) เป็นต้น

ในขั้นตอนสุดท้าย จะใส่อุปกรณ์แนบ เช่น แอร์คลีนเนอร์ ป้ายฉลาก และอื่นๆ จนเป็นของที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

3. ประกอบเพลา

ประกอบย่อยเลเวอร์ของเครื่องตัดหญ้า

ประกอบย่อยโดยใส่แกนตัวนำเข้าในเพลา

กระบวนการประกอบคลัชดรัม แบร็กเก็ต โซลินอยด์ และซีลแต่ละแบบ

ทดสอบฟังก์ชันการทำงาน เช่น ความเร็วรอบหมุน วัดค่าการสั่น ฯลฯ แล้วติดป้ายฉลาก

ประกอบเครื่องยนต์กับเพลา

จัดชุดคู่มือการใช้งาน (4 ภาษา) แล้วบรรจุหีบห่อ

อัพเดตข้อมูลล่าสุด 27 เม.ย. 2566
หมวดธุรกิจ
เครื่องจักร
เว็บไซต์นี้เป็นส่วนหนึ่งของ Fact-link.com
กลับไปหน้าแรกของ Fact-Link