กลับไปหน้าแรกของ Fact-Link > ระบบโรงงาน > บริษัท สยาม ซันโก จำกัด

  ลด CO2 จากเตาอบแห้งและปรับปรุงเป็นแบบไฮบริด  

คำนวณปริมาณ CO2 ที่ลดได้จริง
เปลี่ยนแปลงจากเตาอบแบบเผาไหม้ เป็นเตาไฟฟ้า

จากหัวแก๊ส สู่ฮีตเตอร์ไฟฟ้า

ขั้นที่ 1 : ผสมผสานระหว่างการสร้างความร้อนด้วยการเผาไหม้และการสร้างความร้อนด้วยไฟฟ้าให้เป็นแบบไฮบริด

ขั้นที่ 2 : เปลี่ยนไปสู่การสร้างความร้อนด้วยไฟฟ้า

 

 ลักษณะเฉพาะและปัญหาจากการสร้างความร้อนด้วยการเผาไหม้

● การเผาไหม้ทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกับออกซิเจนและคาร์บอน

● ยากต่อการปรับอุณหภูมิ

● เกิดไดออกซิน ควัน และเขม่า

● มีอุณหภูมิสูงและเปลวไฟ ทำให้เป็นอันตรายได้

● เกิดขี้เถ้า

 

 จุดเด่นของการสร้างความร้อนด้วยไฟฟ้า

 

● ไม่จำเป็นต้องใช้ออกซิเจนในการสร้างความร้อน

● ได้อุณหภูมิที่สูงมาก

● ความร้อนจะเข้าถึงวัสดุที่รับความร้อนโดยตรง

● สามารถควบคุมอุณหภูมิและระยะเวลาสร้างความร้อนได้ง่าย

● เป็นแหล่งความร้อนที่มีความหนาแน่นของพลังงานสูง

● สามารถควบคุมปริมาณพลังงานที่จะใส่เข้าไปได้ง่าย

● มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี

● สามารถสร้างความร้อนเฉพาะส่วนได้และเพิ่มความร้อนได้อย่างรวดเร็ว

● ไม่เกิดเสียงรบกวน

● ขนส่งได้ง่ายเมื่อเทียบกับการขนส่งเชื้อเพลิงและจ่ายพลังงานได้อย่างรวดเร็ว

● ไม่ปล่อยก๊าซเสียจากการเผาไหม้

 

จากจุดเด่นเหล่านี้ การสร้างความร้อนด้วยไฟฟ้าจะทำให้ภายในโรงงานมีความสะอาดและส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน บรรลุเป้าหมายการลด CO2 เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เกิดความเป็นกลางทางคาร์บอน(Carbon neutrality) เรียกได้ว่าเป็นวิธีสร้างความร้อนที่มีประโยชน์สำหรับโรงงานที่มีการใช้พลังงาขอบคุณที่ให้ความสนใจในเว็บไซต์ของเรา บริษัท สยาม แสนโค้ว จำกัด มีความเชี่ยวชาญในการผลิตและจำหน่ายเซรามิกส์และอุปกรณ์วัดอุณหภูมิที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต การขนส่ง และอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกทั้งยังมีการให้บริการตรวจสอบและสอบเทียบเครื่องมือวัดอุณหภูมิและตัวอินฟราเรด อีกด้วย บริษัทของเรามีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญมากกว่า 20 ปีในการผลิตและจำหน่ายเครื่องมือวัดอุณหภูมิคุณภาพสูงที่มีมาตรฐานสากล ดังนั้นคุณสามารถมั่นใจได้ในคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการของเราที่ได้รับการยอมรับโดยลูกค้าในหลายประเทศ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อเราทางอีเมล์ หรือโทรศัพท์ตามที่แสดงบนเว็บไซต์ของเราของเรา 
ความร้อน

 

 ประเภทการสร้างความร้อนด้วยไฟฟ้า

 

การให้ความร้อนโดยความต้านทานไฟฟ้า

การให้ความร้อนด้วยการอาร์ก

การให้ความร้อนโดยการเหนี่ยวนำ

 การให้ความร้อนแบบไดอิเล็กทริก (คลื่นไมโครเวฟ) เตาไมโครเวฟ

การให้ความร้อนโดยรังสีอินฟราเรด

การให้ความร้อนโดยเลเซอร์

การให้ความร้อนโดยฮีทปั๊ม

 

 Q. 

ไม่ว่าจะเป็นเตาอบแห้งแบบไหน ก็สามารถทำให้เป็นไฮบริดหรือเป็นฮีตเตอร์ไฟฟ้าได้ใช่หรือไม่

 A. 

แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกเตาอบที่สามารถทำได้ แต่เนื่องจากเตาอบแห้งส่วนใหญ่มีเงื่อนไขในเชิงโครงสร้างที่สามารถทำให้เป็นไฮบริดได้ จึงสามารถนำมาดัดแปลงได้

 

 Q. 

สามารถลด CO2 ได้จริงประมาณเท่าไร

 A. 

หากเป็นไปตามเงื่อนไขด้านล่าง จากการคำนวณแล้วจะสามารถลดได้ 6.3 ตันต่อปี (หากใช้ 2 เครื่องก็จะสามารถลดได้ 12.6 ตัน)

กรณีทำเป็นไฮบริด:เตาอบแห้ง, ก๊าซธรรมชาติ, อุณหภูมิในเตาอบ 120℃, อุณหภูมิอากาศที่ใส่เข้าไปในเตา 30℃ ปริมาณลม 100Nm3/min, อุณหภูมิอากาศที่ปล่อยออกจากเตา 60℃ ปริมาณลม 100Nm3/min, ปริมาณความร้อนที่มีการใส่เข้าไปของฮีตเตอร์ไฟฟ้า 15kW, ปริมาณเชื้อเพลิงที่สามารถลดได้ 1.5Nm3/ชั่วโมง, 2870Nm3 ต่อปี

※คาดการณ์โดยพิจารณาจากกรณีที่ก๊าซที่ปล่อยออกมาเจือจาง 2 เท่า, อุณหภูมิภายใน 30℃, เชื้อเพลิง 37.6MJ/Nm3, การเดินเครื่องต่อปี 8 ชั่วโมง/วัน x 247 วัน

หากลูกค้าแจ้งเงื่อนไขการใช้งานอุปกรณ์ปัจจุบันให้เราทราบ เราสามารถช่วยคำนวณให้ลูกค้าได้

 

 Q. 

สามารถเลิกใช้หัวแก๊สของเตาที่มีอยู่ในปัจจุบัน แล้วเปลี่ยนมาใช้ฮีตเตอร์ไฟฟ้าแทนได้หรือไม่

 A. 

สามารถเปลี่ยนแหล่งความร้อนเป็นฮีตเตอร์ไฟฟ้าได้ โดยที่ไม่ต้องปรับแต่งผนังด้านนอกเดิมอุปกรณ์ อีกทั้งยังสามารถเพิ่มหรือปรับเปลี่ยนเป็นฮีตเตอร์แบบอินฟาเรดได้ในการอบแห้งสีฝุ่น เป็นต้น
สำหรับแผงควบคุม หากไม่มีปัญหาเรื่องพื้นที่ของแผงควบคุม สามารถใช้งานได้โดยการสับเปลี่ยนอุปกรณ์ด้านในแผงควบคุม แต่อาจต้องเปลี่ยนแปลงการควบคุมเครื่อง หรือตำแหน่งของคอนโทรลเลอร์

 

 Q. 

เมื่อทำการปรับเปลี่ยนจากเตาที่มีอยู่ในปัจจุบัน จะมีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงไปบ้าง

 A. 

เราจะปรึกษาเรื่องขอบเขตและรายละเอียดการปรับเปลี่ยนกับลูกค้า ดังนั้นหากท่านมีความประสงค์หรือรูปแบบที่ต้องการ สามารถส่งรายละเอียดมาให้เราได้
ซึ่งการให้คำตอบว่าจะดำเนินการปรับปรุงส่วนใดนั้นจะขึ้นอยู่กับสภาพของอุปกรณ์ในปัจจุบัน แต่ลักษณะภายนอกแทบจะไม่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากใช้ผนังด้านนอกเดิมที่มีอยู่
ในกรณีที่เป็นไฮบริด ต้องระมัดระวังในเรื่องการปรับเอ้าต์พุตของหัวแก๊สตามปริมาณที่เพิ่มฮีตเตอร์ไฟฟ้าเข้ามา

 

 Q. 

หากปรับเปลี่ยนเตาแล้ว การซ่อมบำรุงจะยากขึ้นกว่าปัจจุบันหรือไม่

 A. 

ในกรณีที่เป็นไฮบริดการซ่อมบำรุงจะต่างจากเดิม เนื่องจากจำเป็นต้องควบคุมโดยปรับเอ้าต์พุตหัวแก๊สตามปริมาณฮีตเตอร์ไฟฟ้าที่เพิ่มเข้ามา อีกทั้งจะต้องควบคุมปริมาณฮีตเตอร์ไฟฟ้าแยกต่างหาก และหากปิดตัวฮีตเตอร์ไฟฟ้า ก็สามารถทำให้สภาพการทำงานของเครื่องกลับไปเป็นเหมือนก่อนหน้าที่ปรับเปลี่ยนได้ทันที

 

 Q. 

ใช้เวลากี่วันในการปรับเปลี่ยน จำเป็นต้องหยุดเครื่องเป็นเวลากี่วัน

 A. 

หากคำนวณตามเกณฑ์การปรับเปลี่ยนปกติของบริษัทเรา จะใช้เวลา 3-7 วันรวมการทดสอบเดินเครื่อง

 

 Q. 

ท้ายสุดแล้ว ถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนให้เป็นแบบไฟฟ้า แต่ตอนผลิตกระแสไฟฟ้าก็ยังมีการปล่อยก๊าซ C02 อยู่ใช่หรือไม่

 A. 

แน่นอนว่าโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนก็ปล่อยก๊าซ C02 จึงเป็นไปได้ว่าการใช้ไฟฟ้าก็จะอาจจะไม่สามารถช่วยลด C02 ได้
แต่ในเรื่องนี้หากเป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ เงื่อนไขก็จะเปลี่ยนไป แต่ก็ยังมีข้อถกเถียงในเรื่องความปลอดภัยของการใช้งานอยู่
แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่านี่จะเป็นยุคที่มีความยากลำบาก แต่เราก็ประสงค์ที่จะตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าให้ได้

 

อัพเดตข้อมูลล่าสุด 24 เม.ย. 2566
หมวดธุรกิจ
ระบบโรงงาน
เว็บไซต์นี้เป็นส่วนหนึ่งของ Fact-link.com
กลับไปหน้าแรกของ Fact-Link