เครื่องยนต์ 2 จังหวะ / เครื่องตัดหญ้า
เครืองยนต์รุ่นเล็กน้ำหนักเบา 20cc จะติดตั้งอยู่ในเครื่องตัดหญ้าที่ตามร้านศูนย์รวมอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในญี่ปุ่น เหมาะกับคนญี่ปุ่นที่มีร่างกายเล็ก สำหรับรุ่นใหญ่ 42cc, 50cc จะติดตั้งอยู่ในเครื่องตัดหญ้าสำหรับจำหน่ายต่างประเทศ ซึ่งเหมาะกับชาวต่างชาติที่มีร่างกายสูงใหญ่ เครื่องตัดหญ้าและเครื่องยนต์ 2 จังหวะของมารูยาม่าได้รับความนิยมสูงในหลายประเทศที่ใช้งานในสภาพแวดล้อมที่โหดร้าย โดยจุดขายของเราอยู่ที่สมรรถนะ คุณภาพ และความทนทานในระดับสูง
|
เครื่องยนต์ 2 จังหวะ คืออะไร?
เป็นเครื่องยนต์ที่มีน้ำหนักเบา แข็งแรง ใช้งานสะดวกแม้ในสภาพกลับหัวก็สามารถใช้งานได้ มารูยาม่าจะนำเครื่องยนต์มาใช้กับเครื่องตัดหญ้าและเครื่องพ่นสเปรย์สะพายหลังเป็นหลัก น้ำมันที่ผสมแล้วจะเข้าไปในห้องเครื่อง เกิดการเผาไหม้ และปล่อยออก ทำให้เกิดแรงขับเคลื่อนหมุนเพลาข้อเหวี่ยง ซึ่งในตอนนี้แกนข้อเหวี่ยงจะหมุน 1 รอบใน 2 กระบวนการ จึงเรียกว่าเป็นเครื่องยนต์ 2 จังหวะ
|
|
|
กระบวนการผลิตของเครื่องตัดหญ้า
► ที่โรงงานในไทยทำการผลิตเครื่องยนต์ 2 จังหวะ ขนาด 20cc, 23cc, 26cc, 36cc, 42cc, 50cc
|
ผู้ผลิตเครื่องยนต์ 2 จังหวะบางแห่งจะสั่งซื้อชิ้นส่วนทั้งหมดที่ใช้ในผลิตภัณฑ์จากโรงงานภายนอก แต่ที่มารูยาม่าจะมุ่งเน้นผลิตชิ้นส่วนที่สำคัญในบริษัทเองเพื่อรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ยิ่งกว่านั้นยังได้นำเกณฑ์ตัดสินคุณภาพที่เข้มงวดมาใช้ในกระบวนการประกอบ ดำเนินการผลิตผลิตภัณฑ์ทีละเครื่องในความควบคุมอย่างละเอียดรอบคอบของวิศวกรบริษัท
1. การกัดชิ้นงาน
มีการนำเครื่องแมชชีนนิ่งเซนเตอร์เข้ามาใช้ ทำให้สามารถเริ่มการผลิตแบบครบวงจรภายในบริษัทได้ ตั้งแต่จัดหาวัตถุดิบ แปรรูป จนถึงการประกอบ (FANUC ROBODRILL / a-D21LiB 2 เครื่อง)
|
2. ประกอบเครื่องยนต์
ทำการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยการประกอบย่อยชิ้นส่วน (ซับแอสเซมบลี) ก่อนประกอบตัวเครื่อง
|
ติดตั้งสายการผลิตที่ประกอบผลิตภัณฑ์โดยผ่านกระบวนการ 15 ขั้นตอน
|
กระบวนการที่ 1 จะประกอบไซลินเดอร์ โรเตอร์ หัวเทียนจุดระเบิด คอยล์จุดประกายไฟ คลัช สตาร์ตเตอร์พูลเลย์
|
จากนั้น ประกอบคาร์บูเรเตอร์ ตัวฉนวน แฟนโคเวอร์ อันเดอร์โคเวอร์ สคาร์ฟ
|
สุดท้าย ประกอบรีคอยล์สตาร์ตเตอร์ ท็อปโคเวอร์ และถังน้ำมัน
|
ห้องทดสอบจะมีการควบคุมอุณหภูมิกับความชื้น และทำการทดสอบประเมินผลการขับเคลื่อนด้วยพัลส์ (ความเร็วรอบเครื่องยนต์) เป็นต้น
|
ในขั้นตอนสุดท้าย จะใส่อุปกรณ์แนบ เช่น แอร์คลีนเนอร์ ป้ายฉลาก และอื่นๆ จนเป็นของที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
|
3. ประกอบเพลา
ประกอบย่อยเลเวอร์ของเครื่องตัดหญ้า
|
ประกอบย่อยโดยใส่แกนตัวนำเข้าในเพลา
|
กระบวนการประกอบคลัชดรัม แบร็กเก็ต โซลินอยด์ และซีลแต่ละแบบ
|
ทดสอบฟังก์ชันการทำงาน เช่น ความเร็วรอบหมุน วัดค่าการสั่น ฯลฯ แล้วติดป้ายฉลาก
|
ประกอบเครื่องยนต์กับเพลา
|
จัดชุดคู่มือการใช้งาน (4 ภาษา) แล้วบรรจุหีบห่อ
|